วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน “หลักสูตรผู้นำการพัฒนา”

ชื่อความรู้     เทคนิคการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
                “หลักสูตรผู้นำการพัฒนา”
เจ้าของความรู้      สิบตำรวจโทสุริยา   บุญเรือง
ตำแหน่ง             นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด          ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา  สถาบันการพัฒนาชุมชน 
                 กรมการพัฒนาชุมชน

              ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา มีวิสัยทัศน์ ศูนย์ฝึกอบรมประชาชนและพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาชุมชนที่ได้มาตรฐานระดับประเทศ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการฝึกอบรม และได้ดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน“หลักสูตรผู้นำการพัฒนา” โดยมีสถาบันการพัฒนาชุมชนเป็นแกนหลักในการกำหนดหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมาย และให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทั้ง 11 ศูนย์เข้าร่วมกำหนดและพัฒนาหลักหลักสูตรดังกล่าวมาโดยตลอด ศูนย์ฯนครราชสีมาได้ให้กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลรับผิดชอบดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน“หลักสูตรผู้นำการพัฒนา”และให้สิบตำรวจโทสุริยา บุญเรือง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการเป็นเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ
               กระบวนการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน“หลักสูตรผู้นำการพัฒนา”  ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เป็นการจัดการ ควบคุมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย เหมาะสมกับเวลาและมีคุณภาพบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในโครงการโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม โดยเริ่มจากการดำเนินงานเตรียมการก่อนฝึกอบรมได้เชิญประชุมครั้งแรกเพื่อพิจารณาโครงการ /งบประมาณ/กำหนดวันเวลาอบรม และคัดเลือกวิทยากรประรายวิชาซึ่งต้องมีความชำนาญในเรื่องนั้น การเตรียมสถานที่ฝึกอบห้องประชุม ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร-อาหารว่าง ห้องพัก โดยหารือร่วมกันและกำหนดคนรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ต่อมาดำเนินาการเขียนขออนุมัติโครงการ /กำหนดการ /งบประมาณ /หนังสือประสานจังหวัดในเขตรับผิดชอบประสานกลุ่มเป้าหมายและกำหนดการฝึกอบรม ยืมเงินทดรองราชการ /ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เป็นรุ่นๆของการฝึกอบรมเพราะทางศูนย์ฯได้รับทั้งหมด 12 รุ่นละ 80 คนและต้องเตรียมบุคคลยืมเงินในรุ่นต่อไป จากนั้นเชิญประชุมครั้งที่ 2 ร่วมกำหนดการวางแผนกิจกรรมการฝึกอบรม (เช่นกิจกรรมสำหรับพิธีเปิด –ปิด ใครเป็นพิธีกร ใครกล่าวรายงาน เชิญใครเป็นประธาน) จากนั้นจัดเตรียมเอกสารประกอบการฝึกอบรม เตรียมใบประกาศนียบัตร และขอแสกนลายมืออธิบดีลงนามในใบประกาศ และเตรียมพิธีกรในพิธีเปิด –ปิดโครงการและรูปแบบพิธีกร จัดเตรียมอุปกรณ์ฝึกอบรม/โสตทัศนูปกรณ์ (เช่นคอมพิวเตอร์ตัวหลัก, เครืองฉายจ่อภาพ, ไมค์เป็นต้น) เตรียมใบลงชื่อลงทะเบียนผู้เข้าอบรม เอกสารการรับค่าพาหนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เตรียมแบบประเมินโครงการ เตรียมเอกสารใบรับเงินค่าตอบแทนวิทยากร เตรียมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 เพื่อเตรียมความพร้อมอีกครั้งกำหนดรายละเอียดแต่ละชั่วโมงตามตารางฝึกอบรมว่าใครทำอะไรใครเป็นตัวหลักใครเป็นตัวเสริมเพื่อบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในโครงการ
              การดำเนินงานระหว่างการฝึกอบรม เริ่มจากการสำรวจความพร้อมในห้องประชุม(การจัดโต๊ะในห้องฝึกอบรม ไมค์ ขาตั้งไมค์ เป็นต้น) คำกล่าวรายงาน/คำกล่าวเปิด ธูปเทียนหน้าพระประธาน โต๊ะประธาน ความสะอาด แอร์เป็นต้น การลงทะเบียน ต้อนรับและอำนวยความสะดวกประธาน/ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ เครื่องดื่มสำหรับประธาน/ผู้เข้าร่วมประชุม พิธีเปิดการอบรม กล่าวแนะนำและขอบคุณวิทยากร ดูแลสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ การให้บริการและอำนวยความสะดวกในระหว่างการฝึกอบรม ถ่ายรูปทำเนียบรุ่นผู้นำ ดูแลความพร้อมเรื่องของอาหาร/อาหารว่างและเครื่องดื่ม แจกแบบประเมิน และรวบรวมเก็บแบบประเมินและเอกสารในการฝึกอบรม มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม ปิดการฝึกอบรมแล้วถ่ายรูปร่วมกัน จ่ายค่าตอบแทนวิทยากร(ฝ่ายอำนวยการรับผิดชอบ)
              การดำเนินการหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม การส่งใบสำคัญหักล้างยืมเงิน (ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม) ประเมินผลการฝึกอบรม สรุปจัดทำรูปเล่มส่งให้สถาบันการพัฒนาชุมช ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทุกศูนย์ และกองแผนงานกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้และใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนผลการดำเนินงานและปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางแก้ไข และเตรียมเข้าร่วมพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร
             ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ เมื่อได้มีการเขียนโครงการฝึกอบรม และเสนอขออนุมัติไปตามขั้นตอนเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมควรจะต้องร่วมกันวางแผนดำเนินการฝึกอบรม ซึ่งมีลักษณะเป็นแผนปฏิบัติการหรือที่เรียกว่า Action Plan ซึ่งระบุถึงกิจกรรมต่าง ๆ ขั้นตอน และแนวทางที่จะดำเนินการอย่างละเอียด พร้อมทั้งระบุลำดับการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยว่าสิ่งใดจะต้องดำเนินการก่อน - หลัง ตลอดจน กำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบดำเนินการสำหรับแต่ละกิจกรรมอันเป็นการแบ่งงานกันทำไว้ด้วยแล้วเพื่อช่วยให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างมีขั้นตอน รู้ข้อมูล เหตุผลความจำเป็น และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิด ความร่วมมือ ประสานงานกันระหว่างผู้มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน สะดวกในการติดตามผลการปฏิบัติงาน ตลอดจน อาจช่วยลดปัญหาและอุปสรรค และช่วยทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
             เพื่อให้การบริหารโครงการฝึกอบรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจแบ่งการวางแผนการดำเนินงานฝึกอบรม ออกเป็น 3 ส่วน คือ               
               - การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาก่อนการฝึกอบรม
               - การดำเนินงานสำหรับช่วงระหว่างการฝึกอบรม
               - การดำเนินงานสำหรับช่วงหลังการฝึกอบรม


                             ..........................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น