หลักสูตร “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
เจ้าของความรู้ : นายทวีศักดิ์ ช่วยเกิด
ตำแหน่ง : นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
ส่วนนำ (ความเป็นมา/ความสำคัญ)
กรมการพัฒนาชุมชน
ได้จัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันการพัฒนาชุมชน
เพื่อมอบหมายให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
ดำเนินโครงการฝึกอบรมพัฒนากรระหว่างประจำการหลักสูตร “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” ประจำปีงบประมาณ
๒๕๕๙
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
ส่วนขยาย
วิธีการดำเนินงาน มีวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) แจ้งประสานกลุ่มเป้าหมายกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดในพื้นที่ให้บริการ
๕ จังหวัด
2) ประชุมทีมวิทยากร/ผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อเตรียมความพร้อมเนื้อหาวิชาและกระบวนการฝึกอบรม ประกอบด้วย
2.1) Happy Rally (การปรับฐานเพื่อการเรียนรู้โลกที่เปลี่ยนแปลง)
2.2) Dynamics for Change และการขับเคลื่อนประเทศไทย (Knowledge
Management)
2.3) เล่าขานงานพัฒนาชุมชน (จุดยืน และอุดมการณ์การทำงานพัฒนาชุมชนในอดีต
การปรับตัวเพื่อการทำงานยุคการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน) และการจัดการความรู้
2.4) CDD
Positioning (ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลง)
2.5) Thinking for Change ระบบคิดพิชิตการเปลี่ยนแปลง
3) แต่งตั้งทีมวิทยากรเพื่อประสานวิทยากรภายนอก
และดำเนินการตามแผนงาน
4) ประเมินผลการฝึกอบรม
รายงานผลการฝึกอบรมให้สถาบันการพัฒนาชุมชน ได้ทราบ
เทคนิค : เทคนิคการฝึกอบรม
เป็นแบบบูรณาการร่วมกันหลายๆ เทคนิค ได้แก่
1) การฟังบรรยาย ( Lecture ) การบรรยายเป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูลข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟังเป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่นๆ
ได้
2) เกมการบริหาร ( Management Games) เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่
2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง
เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร การตัดสินใจ
การวางแผน การเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน
วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
3) การระดมสมอง ( Brainstorming) เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน
15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย
ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง
ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
*ข้อพึงระวังในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานจากการฟังบรรยาย ( Lecture )
1) ประสิทธิภาพของการบรรยายขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของวิทยากร
2) การบรรยายเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ถ้าไม่เปิดโอกาสให้มีการซักถาม จะไม่สามารถประเมินได้ว่า
ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่บรรยายเพียงใด
3) การบรรยายไม่อาจใช้กับทุกเรื่องได้ เช่น เรื่องที่ต้องการข้อสรุปเพื่อการนำไปปฏิบัติการ
4) ช่วงความสนใจในการฟังของบุคคลแต่ละวัย แต่ละระดับบุคคลในองค์การมีขีดจำกัดหาก
ใช้เวลาในการบรรยายมากเกินไป
จะไม่เกิดผลตามความมุ่งหมายที่กำหนด
** ข้อพึงระวังในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานจากเกมการบริหาร
( Management Games)
1) การเลือกเกมที่ไม่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
การแบ่งกลุ่มมากเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการแข่งขัน และเกมบางชนิดต้องใช้อุปกรณ์และเวลา
***ข้อพึงระวังในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานจากการระดมสมอง
( Brainstorming)
1) ได้ความคิดเห็นจำนวนมากแต่คุค่าน้อย
และต้องจำกัดกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ปัญหาที่นำมาระดมสมองควรเป็นปัญหาเดียว
บทสรุป
-ปัจจัยความสำเร็จของเทคนิคการฟังบรรยาย ( Lecture ) คือ การบรรยายเป็นเทคนิคที่ง่ายต่อการใช้ ผู้ที่มีประสบการณ์จะใช้เวลาในการเตรียมตัวน้อยลง
และประเด็นเนื้อหาสาระที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้
รับมีมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เวลาในการอบรมด้วยวิธีอื่น
-ปัจจัยความสำเร็จของเกมการบริหาร ( Management Games) คือ เป็นการย่อสถานการณ์จริงให้ฝึกในช่วงสั้นๆ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำ ทำให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง ได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว
-ปัจจัยความสำเร็จของเทคนิคการการระดมสมอง (
Brainstorming) คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมโดยตรง ช่วยกันคิด
ช่วยกันเสนอ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
สามารถแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ ทำให้ความคิดหลากหลายในเวลาจำกัดสามารถเร้าความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี บรรยากาศเป็นกันเอง-ปัจจัยความสำเร็จของเกมการบริหาร ( Management Games) คือ เป็นการย่อสถานการณ์จริงให้ฝึกในช่วงสั้นๆ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำ ทำให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง ได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว
..................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น