เจ้าของความรู้ นางสาวเมธยา ขะจวง
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล
(พนักงานราชการ)
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
การประเมินโครงการเป็นเครื่องมือหนึ่งของการวัดถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่าบรรลุถึงวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
และมีข้อบกพร่องใดที่ควรนำไปปรับปรุง
เป็นประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างมากในการฝึกอบรม ซึ่งการประเมินโครงการมักจะทำหลังจากได้ฝึกอบรมเสร็จแล้ว
เพราะสามารถชี้วัดได้ว่าการฝึกอบรมนั้นผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
พึงพอใจในระดับใด และมีข้อเสนอแนะใดบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อการฝึกอบรมต่อไป
การประเมินโครงการต้องมีขั้นตอนเช่นกัน
เพื่อเป็นการสะดวกในการอธิบาย และการจัดเก็บ โดยหลังจากที่เสร็จการอบรม
จะมีเวลาพักทานอาหารว่างและให้ผู้เข้าอบรมได้ทำกิจธุระส่วนตัว
ในระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้วางใบประเมินโครงการบนโต๊ะของผู้เข้าร่วมอบรม
เมื่อถึงเวลาผู้เข้าอบรมเข้าห้องครบทุกคนแล้ว ประกาศแจ้งให้ทราบในการทำประเมิน
โดยให้ทำพร้อมๆกันและอ่านรายละเอียดทีละข้อ
เมื่อผู้เข้าอบรมสงสัยยกมือถามคำถามจะสามารถแจงรายละเอียดและเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันไม่เป็นการเสียเวลา
ทำให้ผลการประเมินนั้นมีประสิทธิผล และเมื่อถึงข้อสุดท้ายในเรื่องการเสนอแนะอื่นๆ
ซึ่งตรงนี้อาจใช้เวลาไม่มากแต่มีความสำคัญ เพราะสามารถบอกความเข้าใจ
ความรู้สึกของผู้เข้าอบรมได้ชัดเจนในขณะที่เข้าฝึกอบรมว่ามีการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
อะไรที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ระหว่างการฝึกอบรม ข้อบกพร่องใดที่ต้องแก้ไข
เมื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทำแบบประเมินโครงการเสร็จแล้วทุกคน
ให้รวบรวมไว้ที่หัวแถวของแต่ละแถว
เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้รวบรวมเก็บไว้และมีความสะดวกในการเก็บ
การประเมินโครงการยังมีข้อพึงระวังเช่นกัน
โดยต้องจัดเก็บแบบประเมินโครงการได้ตามจำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมโครงการที่ถูกต้องตามจำนวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
และจำนวนเจ้าหน้าที่ที่จัดเก็บแบบประเมินโครงการต้องไม่มากไปหรือน้อยไป
เช่นถ้าจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมมีจำนวน ๘๐ คน ควรมีเจ้าหน้าที่จัดเก็บประมาณ ๒ – ๓ คน
แต่ถ้าจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมมากกว่านั้นอาจมีเจ้าหน้าที่จัดเก็บ ๔ – ๕ คน
แล้วแต่ความเหมาะสม................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น