เจ้าของความรู้ นางวรรณมณี
กลมนอก
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการปฏิบัติงาน
สังกัด
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
สถาบันการพัฒนาชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ -
เรื่องเล่าเข้าประเด็น (เรื่องราว/เหตุการณ์นั้นมีความเป็นมาอย่างไร)
ด้วยการตรวจรับพัสดุเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งในการจัดซื้อพัสดุและการจัดจ้างทั่วไปที่ไม่ใช่ การจ้างก่อสร้าง
เพราะหากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้ตรวจรับและลงนามในบันทึกการตรวจรับพัสดุแล้ว จะนำพัสดุดังกล่าวเข้าบัญชีควบคุมพัสดุ
หรือจะนำพัสดุดังกล่าวไปใช้งานไม่ได้ซึ่งในการตรวจรับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และข้อกำหนดเงื่อนไขในสัญญา
เพราะหากทำการตรวจรับพัสดุที่ไม่เป็นไปตามคุณลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขข้อกำหนด
ในสัญญา หรือตรวจรับโดยขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
และทำให้ราชการต้องได้รับความเสียหาย หรือเสียประโยชน์แล้ว
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุอาจถูกตรวจสอบ และถูกตั้งกรรมการสอบสวนความรับผิดในทางวินัย ทางแพ่ง ฯลฯ ได้ ดังนั้น
เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัสดุและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ทำหน้าที่ตรวจรับพัสดุ
อย่างถูกต้องสอดคล้องกับระเบียบ จึงขอนำระเบียบและสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการตรวจรับพัสดุมากล่าว
ไว้เพื่อนำไปใช้ประกอบในการตรวจรับพัสดุต่อไป
ส่วนขยาย (กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิคการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
1. ประกอบด้วยประธานกรรมการ
1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติแต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
กรณีกรรมการท่านใดท่านหนึ่ง หรือหลายท่านย้ายไปรับราชการที่อื่น
หรือออกจากราชการต้องแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมให้ครบองค์ประกอบก่อนการตรวจรับ
2. ซื้อครั้งเดียวกันห้ามแต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคา
หรือกรรมการพิจารณาผลการ ประกวดราคา หรือกรรมการประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นกรรมการ
ตรวจรับพัสดุ
3. การซื้อวงเงินไม่เกิน 10,000
บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่ง
ซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อ เป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้นก็ได้
4. มติคณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการท่านใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้
หน้าที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ระเบียบสำนักนายกรับมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
ข้อ 71 ได้กำหนดหน้าที่คณะกรรมการตรวจรับ พัสดุไว้ดังนี้
1.ตรวจรับพัสดุ ณ
ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ
สถานที่อื่นในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง
จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน
2.ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือ
ตรวจสอบ ในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ
ก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
3. โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
4. เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้อง ครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่งแล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ
มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่ พัสดุ 1
ฉบับ
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากเงินจากคลังและรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ
มีรายละเอียด ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้
รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ
แล้วแต่กรณี
5. ในกรณีที่ผู้ขายที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน
หรือส่งมอบครบจำนวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (4) และโดยปกติให้รับรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้
รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนับ
6. การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย
ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น
และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน
3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
7.ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้
จึงดำเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณีกล่าวโดยสรุปก็คือ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องตรวจรับพัสดุที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้
กรณีผู้ขาย หรือผู้รับจ้างส่งมอบไม่ตรง ตามข้อกำหนดสัญญา ให้รายงานหัวหน้า ส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบ
หรือสั่งการ แล้วแต่กรณี
ระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุ
ตามหนังสือที่ นร.1305/ว 5855
ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 ในการตรวจรับพัสดุให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่ง
มอบ และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการนับแต่วันที่ คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ
ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวไม่รวมถึงระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือ ตรวจสอบใน ทางเทคนิค
หรือทางวิทยาศาสตร์ กรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้น
ได้ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็นพร้อมกับสำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบ
ด้วย
กล่าวโดยสรุป ก็คือ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ จะต้องตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายนำพัสดุมาส่งมอบและตรวจรับให้เสร็จโดยเร็วที่สุดอย่างช้าไม่เกิน
5 วันทำการ โดยไม่รวมวันที่ใช้ในการตรวจสอบหรือ ทดลอง
(ถ้ามี) กรณีมีการตรวจสอบหรือทดลอง ให้ทำการตรวจรับปริมาณให้ครบจำนวนตามสัญญาไว้ ก่อนการตรวจรับจะสมบูรณ์ถูกต้องตามสัญญาก็ต่อเมื่อผลการตรวจสอบหรือทดลองมีผลใช้ได้
จึงจะสามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าพัสดุตามสัญญาต่อไปได้
หากท่านเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุควรทำอย่างไร
ถ้าท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
ท่านควรดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาเงื่อนไขข้อกำหนดในสัญญารายการคุณลักษณะเฉพาะ
แคตตาล็อกฯลฯให้เข้าใจก่อนทำการตรวจรับ
2. ทำการตรวจรับตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามระเบียบพัสดุฯ
ข้อ 71 (ตามข้อ 2)
3. ทำการตรวจรับให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดไม่ควรเกินระยะเวลาตามที่ระเบียบฯ
กำหนด คือ 5 วันทำการ นับแต่ผู้ขายนำพัสดุมาส่ง (ตามข้อ 3)
4. ลงนามในบันทึกการตรวจรับพัสดุ
และใบแจ้งสงวนสิทธิการปรับตามสัญญาซื้อหรือจ้าง (กรณีมีการปรับ)
5. กรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง
หรือขยายระยะเวลาทำการตาม สัญญาหรือการงดหรือลดค่าปรับจะต้องเป็นผู้เสนอให้ความเห็นในแต่ละกรณีเพื่อให้
หัวหน้าส่วนราชการ (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ) ใช้ประกอบในการพิจารณาสั่งการในแต่
ละครั้งด้วย ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่นร (กวพ.) 1305/ว 11948 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2543
6. การตรวจรับคณะกรรมการฯ
ต้องมาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง มติของคณะกรรมการฯ ต้องเป็นเอกฉันท์กรณี มีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นไว้เพื่อเสนอให้หัวหน้าส่วนราชการ
พิจารณาสั่งการเมื่อหัวหน้าส่วนราชการสั่งการ อย่างไรก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น
3. ส่วนสรุป (ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนางาน)
จะเห็นได้ว่าในการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาให้ชัดเจนและทำการตรวจรับตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของสัญญา
หากการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับไปไม่เป็นไปตาม สัญญา
ซึ่งทำให้ทางราชการเสียประโยชน์หรือเกิดผลเสียหายกับทางราชการ
หรือมีเจตนาที่จะช่วยเหลือผู้ขายหรือผู้รับจ้างแล้ว ความรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ซึ่งอาจต้องรับผิดตามบทกำหนดโทษตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 10 หรือผิดตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ.2539 หรือทางแพ่ง อีกด้วย
และอีกประการหนึ่งที่สำคัญจะต้องเข้าใจว่าคณะกรรมการตรวจรับ พัสดุใช้ในการตรวจรับพัสดุที่ซื้อ
และตรวจรับงานจ้างทั่วไปที่ไม่ใช่งานจ้างก่อสร้างด้วย
อนาคตของท่านจะสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนขึ้นอยู่กับการกระทำ.......ของท่านเอง
4. ที่อยู่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา 114
หมู่ 2 ต.แหลมทอง อ. หนองบุญมาก จ.
นครราชสีมา เบอร์โทรศัพท์
044-330441---------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น