วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คิดได้ ทำได้ แก้ได้

ชื่อเรื่อง           คิดได้ ทำได้ แก้ได้
ชื่อ สกุล        นางสาวกนกพร  ศักดิ์อลงกรณ์
ตำแหน่ง          ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา

สังกัด             สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
    เส้นทางสายโชคชัย เดชอุดม เป็นเส้นทางที่คุ้นเคยมานานหลายปี เนื่องด้วยเป็นคนจังหวัดบุรีรัมย์โดยกำเนิด เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรืออีกหลายจังหวัดที่ต้องผ่านเส้นทางนี้ ก็จะมองเห็นศูนย์สารภี ต่อมา ได้ยกฐานะเป็นศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ๑๑ จวบจนปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนเส้นนี้ บริเวณบ้านหนองหัวแรด ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา และด้วยเป็นข้าราชการสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน รู้และเข้าใจว่า ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน  มีบทบาทหน้าที่ศึกษาวิจัยงานพัฒนาชุมชน ฝึกอบรม ให้บริการด้านการฝึกอบรม และ ศูนย์ฯจะเอื้อประโยชน์อะไรบ้างให้กับประชาชน ก็เกิดคำถามว่าแล้วคนอื่นล่ะจะรู้และเข้าใจอย่างนี้ไหม  จะเห็นได้จากเมื่อก่อนเดินทางไป-กลับ ที่ต้องผ่านเส้นทางนี่ เมื่อผ่านศูนย์ฯ ก็จะบอกกับผู้ร่วมทางอย่างภาคภูมิใจว่าศูนย์ฯนี้ขึ้นกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เหมือนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเช่นกัน ก็จะได้รับคำถามที่ไม่แตกต่างกันว่า ไม่เห็นรู้จัก ไม่เคยได้ยิน บ้างว่าศูนย์ฯนี้เขาทำอะไร  จึงได้มองย้อนกลับไปว่า ใช่คนที่จะรู้ว่าศูนย์ฯทำอะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ก็มีเพียงคนที่สังกัดกรมการพัฒนาชุมชนและบางส่วนที่มาใช้บริการของศูนย์ฯเท่านั้น เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ กรมฯมีคำสั่งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา จึงถือเป็นโอกาสหนึ่งที่จะทำให้คนที่ไม่เข้าใจว่าศูนย์ฯทำอะไร ให้รู้และเข้าใจมากขึ้น จึงได้ประชุมทีมงานและมีมติร่วมกันว่า ศูนย์ฯควรจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งานที่ดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ และหลักสูตรที่เปิดบริการให้กับผู้ที่สนใจ  ได้แก่
 ๑. ป้ายวิสัยทัศน์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา  จำนวน  ๑  ป้าย
๒.ป้ายแสดงหลักสูตรการฝึกอบรม ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา จำนวน ๑ ป้าย
๓. ป้ายชื่อหลักสูตรที่ศูนย์ฯเปิดให้บริการฝึกอบรม จำนวน ๕ ป้าย
-หลักสูตรการจัดทำแผนชุมชนแบบบูรณาการ
-หลักสูตรผู้นำการพัฒนา
- หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลง
-หลักสูตรวิทยากรสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
-หลักสูตรพัฒนาเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสาน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ต่อมาในเดือนมกราคม ๒๕๕๘  ศูนย์ฯได้ดำเนินการจัดทำและติดตั้งป้ายดังกล่าวที่บริเวณเหนือรั้วหน้าศูนย์ฯ   หลังจากนั้น ประมาณปลายเดือนมกราคม มิถุนายน ๒๕๕๘ ศูนย์ฯได้รับการประสานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอรับบริการ
๑.   ฝึกอบรมการจัดทำแผนชุมชน ๑) เทศบาลเมืองสีคิ้ว  ๒) อบต.สารภี  ๓) อบต.หนองบุญมาก
๒.    การพัฒนาองค์กรชุมชน เทศบาลนครราชสีมา
๓.     การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรี อบต.ไทยเจริญ
๔.     การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อบต.หนองไม้ไผ่
ศูนย์ฯ ได้รับการเสนอแนะจากผู้นำ ภาคี ผู้มารับบริการที่ศูนย์ฯ/นอกศูนย์ฯและผู้สัญจรไปมาว่า
ป้ายที่ติดตั้งนั้น ติดถี่เกินไป ควรติดตั้งให้ห่างพอสมควรที่ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถมองเห็นและอ่านได้ครบถ้วนทุกป้าย จึงได้นำเข้าที่ประชุมของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯให้พึงระวังในการดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้ ส่วนป้ายดังกล่าวที่เสนอแนะมาก็จะดำเนินการแก้ไขต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์และพึงพอใจทั้ง ๒ ฝ่าย

การเป็นวิทยากรจัดเวที “สุนทรียสนทนา”

ชื่อเรื่อง           การเป็นวิทยากรจัดเวที “สุนทรียสนทนา”
ชื่อ สุกล        นายทวีศักดิ์  ช่วยเกิด
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

สังกัด              ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา  สถาบันการพัฒนาชุมชน 

เรื่องเล่าเข้าประเด็น  (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)
 “สุนทรียสนทนา” ที่นำมาเสนอนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นการสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ สุนทรียสนทนา” (dialogue) ปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการ หรือทุกๆหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ  บริษัท / ภาคเอกชน / สถาบันการศึกษา อื่นๆ
หลายคนอาจหลงลืมไปว่า “สุนทรียสนทนา” เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆ ในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลและระดับองค์การได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   

ปัญหาที่พบ
1. ปัจจุบันคนไทยมุ่งแสวงหาวัตถุ (เงิน) โดยเชื่อว่า “เงิน” เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง กับครอบครัว ได้ทุกเรื่อง
2. ปัจจุบันคนไทยมุ่งตามกระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือสารสนเทศที่พัฒนามากับสมาร์ทโฟร์น มากกว่าการพบปะพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว หรือวงสนทนาแบบญาติพี่น้องในอดีต ทั้งในระดับบุคคล  ระดับครอบครัว และระดับองค์การ
          3. ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งพัฒนาไปสู่ความเจริญกับด้านเศรษฐกิจ  ด้านอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับประชาชนในประเทศ แต่ต้องแลกกับการล่มสลายของความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ วัฒนธรรม-ประเพณี ภูมิปัญญาวิถีพุทธในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยปราศจากทางสายกลางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                                    
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ 
คนไทยต้องหันกลับมาทบทวนวิถีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงวัฒนธรรม-ประเพณี  และภูมิปัญญาตามวิถีพุทธในอดีต โดยใช้เวที “สุนทรียสนทนา”
พูดคุยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ และก้าวผ่านจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตและการอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ทั้งในระดับครอบครัว และระดับองค์การ ต่อไป
ผู้นำ ผู้บริหารประเทศ จักต้องไม่นำพาประเทศ และประชาชน เดินเข้าสู่ความหายนะในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จากการพัฒนาประเทศตามกระแสโลกาภิวัตน์ โดยขาดการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติ ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
                                    
ข้อพึงระวัง
ในการเป็นวิทยากรจัดเวที “สุนทรียสนทนา” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมเวทีนี้นั้นวิทยากรผู้ถ่ายทอดประสบการณ์การจัดเวที “สุนทรียสนทนา” จะต้องสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ความหมาย/หลักปฏิบัติที่ดี/การนำความรู้ที่ได้ ไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประวันอย่างชาญฉลาด ต่อไป

การจัดธูปเทียนแพรให้ถูกต้องตามหลักพิธีการ

ชื่อเรื่อง           การจัดธูปเทียนแพรให้ถูกต้องตามหลักพิธีการ
ชื่อ สุกล        นางสาวรุ่งนภา  อุปมา
ตำแหน่ง          นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

สังกัด             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา  สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

เรื่องเล่าเข้าประเด็น  (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)                   
             ในฐานะที่เรามีหน้าที่หลักเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน ตลอดถึงประชาชนกลุ่มต่างๆ  บางครั้งการจัดโต๊ะหมู่บูชา บนเวทีต่างๆ ก็สร้างความสับสนให้เราอยู่บ้างไม่น้อย เพราะมักจะปรากฏการจัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันไปในสถานที่  ซึ่งการจัดงานมงคลต่างๆ เช่น พิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พิธีมอบเครื่องราช อิสริยาภรณ์ พิธีสมรสพระราชทาน การลาบวช การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานทุนการศึกษา เป็นต้น จะมีการจัดชุดเครื่องสักการะถวายเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ธูปเทียนแพ และกระทงดอกไม้  พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน พานดอกไม้ ทั้งนี้อาจจัดให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบต่างกันไปตามขอบเขตความยิ่งใหญ่ของพิธีการนั้นๆ ได้
              ดังนั้น ทางสำนักพระราชวังจึงได้ออกเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช 2522 โดยระบุว่า เครื่องราชสักการะดอกไม้ ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียนจะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป แต่ที่มักจะทำกันผิดๆ คือ จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น          
               นอกจากนี้ ในการจัดโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรประดับธงชาติไว้ด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์(ยึดพระหัตถ์ขวาเป็นหลัก) ในปีพุทธศักราช
2549 ซึ่งเป็นปีแห่งการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประดับธงตราสัญลักษณ์ของงานฯ ที่ด้านซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ บนโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะ วางพานพุ่มทองไว้บนแท่นบูชาด้านขวา และวางพานพุ่มเงินไว้ที่ด้าน ซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ พานธูปเทียนแพ วางไว้ตรงกลางในระดับต่ำกว่าพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง ส่วนพระนามาภิไธยย่อ ภปร.หรือ สก. ประดับไว้เหนือพระบรมฉายาลักษณ์ตรงกลางเหนือพระเศียรได้ ส่วนตราสัญลักษณ์ จัดวางไว้ในตำแหน่งด้านขวาของภาพในระดับที่ต่ำกว่าพระเศียรเล็ก น้อย สำหรับการลงนามในสมุดถวายพระพรของประชาชนทั่วไปนั้น ให้ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินและเขียนด้วยตัวบรรจง
ปัญหาที่พบ         
               ในการจัดวางเครื่องสักการะที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการจัดวางสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้จริงของผู้จัด รวมทั้งผู้ดูแลพิธีการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นได้ ในการจัดวางสิ่งของเครื่องสักการะผิดที่ผิดทางนั้น  จึงกลับกลายเป็นการสื่อแทนความหมายที่ผิดไป

 วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
              ต้องทำความเข้าใจ และจดจำให้ได้อย่างแม่นยำในประเด็นหลักๆ เช่น
 
             1.  การจัดธูปเทียนแพ และกระทงดอกไม้  พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน เป็นการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เท่านั้น
              2.  ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียนจะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป
              3.  จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น   
              4.  บนโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะ วางพานพุ่มทองไว้บนแท่นบูชาด้านขวา และวางพานพุ่มเงินไว้ที่ด้าน ซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์
              5.  สำหรับการลงนามในสมุดถวายพระพรของประชาชนทั่วไปนั้น ให้ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินและเขียนด้วยตัวบรรจง

ข้อพึงระวัง
          การจัดตั้งเครื่องสักการะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการต่างๆที่จัดขึ้นเสมอในบ้านเมืองของเรา ดังนั้นการได้ทราบถึงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดวางเครื่องสักการะ ย่อมสื่อความหมายที่ดีและเป็นมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ   หากกระทำผิดโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม โดยจัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น

งานมงคล
งานอวมงคล

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา

ชื่อเรื่อง           การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ศูนย์ศึกษา
                        และพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
ชื่อ สุกล        นายวิเชียร   เบ้าหนองบัว
ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา สถาบันการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

เรื่องเล่าเข้าประเด็น 
                   ในการทำงานภาครัฐในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้น ทุกหน่วยงานจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ที่ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรในองค์กร ได้ทราบเพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งในการจะกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ด้านต่าง ๆ จะต้องมาจากการนำข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร มาวิเคราะห์ (SWOT Analysis)

ปัญหาที่พบ
          ๑. มักมีข้อถกเถียงหาข้อสรุปว่าอะไรคือปัจจัยภายใน หรือปัจจัยภานอก
          ๒. การกำหนดข้อมูลในการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายใน หรือ ปัจจัยภายนอก มีอะไรบ้าง
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
          ๑. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (SW : Strengths : จุดแข็ง , Weaknesses : จุดอ่อน)  โดยนำแนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์การ (McKinney 7-S Framework) มาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกัน นั้นคือ
                   ๑.๑ Strategy : กลยุทธ์ขององค์กร  คือ การวิเคราะห์กลยุทธ์องค์กรว่าองค์กรมีกลยุทธ์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องใช้คำถามที่สำคัญ อาทิ องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้ องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา มีกลยุธ์ใดที่เป็นจุดแข็ง/จุดอ่อน
                   ๑.๒ Structure : โครงสร้างองค์การ คือ การวิเคราะห์โครงการสร้างองค์การ มีความเหมาะสม หรือ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
                   ๑.๓ System : ระบบการปฏิบัติงาน คือ การวิเคราะห์ระบบการปฏิบัติงาน ต่าง ๆ ในองค์การ เช่น ระบบการเงิน ระบบสารสนเทศ ระบบการรายงาน ฯ  มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
                   ๑.๔ Staff : บุคลากร คือ การวิเคราะห์ว่าบุคลากร มีความเหมาะสม กับลักษณะงาน หรือเพียงพอหรือไม่ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
                   ๑.๕ Skill : ทักษะ ความรู้ ความสามารถ คือ การวิเคราะห์ ว่าบุคลากรในหน่วยงาน/องค์การมี ทักษะ ความรู้ ความสามารถ อะไรบ้างเหมาะสมกับงานขององค์การ หรือ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
                   ๑.๖ Style : รูปแบบการบริหารจัดการ คือ การวิเคราะห์ จุดแข็ง/จุดอ่อน ของรูปแบบการบริหารจัดการในหน่วยงาน/องค์การ
                   ๑.๗ Shared values : ค่านิยมร่วม คือ การวิเคราะห์ จุดแข็ง/จุดอ่อน เกี่ยวกับค่านิยมในหน่วยงาน/องค์การ

๒. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (OP : Opportunities : โอกาส , Threats : ปัญหา/อุปสรรค) โดยนำเครื่องการการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกมาใช้ คือ PEST Analysis เป็นโอกาส หรือ เป็นปัญหา/อุปสรรค ของหน่วยงาน/องค์การ ในเรื่องอะไรบ้าง  ประกอบด้วย
                   ๒.๑ P : Politic : ปัจจัยทางนโยบายและการเมือง
                   ๒.๒ E : Economic : ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
                   ๒.๓ S : Social : ปัจจัยทางสังคม
                   ๒.๔ T : Technology: ปัจจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ

ข้อพึงระวัง
          ในการนำ McKinney 7-S Framework มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือ นำ  PEST Analysis มาวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ถือเป็นเพียงเครื่องมือให้เราได้มีกรอบ หรือประเด็นในการวิเคราะห์ร่วมกัน แต่ถ้าเรื่อง หรือ ประเด็นไหน  ไม่มีผลกระทบ ต่อองค์กร เราก็ไม่จำเป็นต้องนำมาเขียนเป็นผลการวิเคราะห์ ทุกเรื่อง หรือ ประเด็นไหน เช่น ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง / จุดอ่อน) ในเรื่อง Style : รูปแบบการบริหารจัดการ หรือปัจจัยภายนอก (โอกาส / ปัญหา,อุปสรรค) ในเรื่อง E : Economic : ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ไม่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การ ก็ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ หรือนำมากำหนด เป็น จุดแข็ง/จุดอ่อน หรือ โอกาส / ปัญหา , อุปสรรคฺ ของหน่วยงานหรือองค์การ

วางแผนอบรมดี มีชัยแน่

ชื่อเรื่อง            วางแผนอบรมดี มีชัยแน่
ชื่อ สุกล        นายวีระพล  ปักคำไทย
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด            ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา

เรื่องเล่าเข้าประเด็น  (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)   
           ในการฝึกอบรมในแต่ละครั้งนั้น  เราจะเห็นได้ว่ามีบางครั้งที่เราดำเนินการแล้ว  ไม่สำเร็จตามที่เรามุ่งหวังได้ได้ทุกประการ  เช่น  มีการเปลี่ยนตัววิทยากร  เปลี่ยนวัน เวลา และสถานที่ฝึกอบรม  หรือผู้เข้าอบรมมาไม่ตรงเวลา เป็นต้น
เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าหากเราสามารถจัดการให้เกิดการฝึกอบรมได้ดี มีประสิทธิภาพได้ตั้งแต่เริ่มต้น คือ “การวางแผน”   โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เชื่อมั่นเหลือเกินว่ากระบวนการฝึกอบรมนั้น ๆ จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างแน่นอน  เชื่อผมไหมละ ..
ปัญหาที่พบ
1.       กระบวนการต้นน้ำ    (ก่อนการฝึกอบรม)
มีการประชุมเตรียมงานที่ไม่ต่อเนื่อง ใช้เวลาพูดคุยกันน้อย  การประสานงานต่าง ๆ ล่าช้า
2.       กระบวนการกลางน้ำ (ระหว่างการฝึกอบรม)
การบริการต้อนรับผู้เข้าอบรม/วิทยากร ที่ไม่พร้อม การประชุมสรุปงานแต่ละวันน้อย
3.       กระบวนการปลายน้ำ (หลังการฝึกอบรม)
มีการประชุมสรุปงานที่ไม่ต่อเนื่อง

วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
นำวิธีการ “การวางแผน” มาปฏิบัติอย่างจริงจัง และจริงใจ และใฝ่สัมฤทธิ์ร่วมกันทั้งองค์กร
โดยที่ให้มีครบทั้งกระบวนการ คือ PDCA (Plan Do Check Act) มาร่วมด้วยทุกขั้นตอนดังนี้
1.       กระบวนการต้นน้ำ  (ก่อนการฝึกอบรม)  ต้องมีการประชุมทีมงาน เพื่อเตรียมความพร้อมทุก
ด้าน อย่างน้อย 1 – 3 ครั้ง ทั้งทางการ/ไม่ทางการ  ต้องมีการเตรียมพร้อมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสารฝึกอบรม อาคารสถานที่ การประสานวิทยากร และผู้เข้าอบรม อย่างน้อย 7 – 10 วัน ก่อนการฝึกอบรม
2.       กระบวนการกลางน้ำ (ระหว่างการฝึกอบรม) การบริการต้อนรับด้วยจิตใจและไมตรีที่ดีมีชัยไป
กว่าครึ่ง ทั้งเสื้อผ้า หน้าผม ก็พร้อมเพรียง  น้ำท่าดูแลไม่บกพร่องน้อง ๆ โรงแรม และมีปัญหาอะไรรีบแก้ไขปัญหาร่วมกันแบบ ททท. คือ ทำทันที จะดีจริง ๆ ขอบอก
3.       กระบวนการปลายน้ำ (หลังการฝึกอบรม) ควรที่จะมีการร่วมสรุปผลการฝึกอบรมในรูปแบบ
ทางการ/ไม่ทางการ เพื่อประสานพลังความคิด พิชิตปัญหา งานครั้งหน้าสำเร็จแน่ แล้วสรุปรูปเล่มปิดงาน

ข้อพึงระวัง
          ในการฝึกอบรมที่ดี จะมีชัยแน่ ถ้าหากพลังทีมงาน สามารถร่วมกันวางแผนและปฏิบัติตาม PDCA ทุกขั้นตอนอย่างแน่วแน่แก้ไขและรีบลบสิ่งผิด..พลาด ซึ่งเวลานี้ทีมงานก็ได้ร่วมกันทำอย่างแข็งขัน ...เชื่อมั่นเกิน 100 ว่าผู้เข้าฝึกอบรมย่อมประทับใจในการบริการ การร่วมฝึกอบรม ที่ครั้งหนึ่ง ณ ศูนย์สารภี แห่งนี้จะเป็นสถานที่ ที่จะ....ไม่รู้ลืมไปตลอดกาล............  สวัสดี  สบายดี

การเตรียมความพร้อมกิจกรรมสันทนาการ

ชื่อเรื่อง           การเตรียมความพร้อมกิจกรรมสันทนาการ 
ชื่อ สกุล        สิบตำรวจโทสุริยา  บุญเรือง
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

สังกัด             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
เรื่องเล่าเข้าประเด็น
              จากการที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจะก้าวสู่ศูนย์ฝึกอบรมของประชาชน จึงมีความจำเป็นในการฝึกอบรมโครงการต่างๆ นั้นย่อมมีการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกอบรมหรือบางครั้งเรียกว่าการละลายพฤติกรรม หรือการสันทนาการเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ละลายพฤติกรรม ลดความขัดแย้ง เกิดทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ มีความรักความผูกพัน ต่อเพื่อนร่วมกิจกรรม จนกระทั้งเกิดความสามัคคี มีการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่โครงนั้นๆต้องการ
              ในการเตรียมความพร้อมของวิทยากร นำกิจกรรมสันทนาการ / เกมนั้นต้องคำนึงถึง
               1.การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย  (จำนวน เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์)
               2.ขนาดกลุ่ม (แบ่งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มละเท่าใด)
               3.รู้สถานที่ / พื้นที่ (เพื่อเลือกเกม กิจกรรมให้เหมาะสม)
               4.สื่อ เครื่องมือ (ใช้อะไรบ้างในการดำเนินกิจกรรม)
               5.วางแผนการเล่นเกม / กิจกรรม (วัตถุประสงค์ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ)
               6.เตรียมอุปกรณ์ (เช่น เกม เอกสาร รางวัล เครื่องมือในการเล่นกิจกรรม)
              7.เตรียมผู้ช่วยและเกมสำรอง (เพื่อสาธิตเกม กิจกรรมต่างๆ เตรียมเกมสำรอง พร้อมแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันที)
ปัญหาที่พบ
               1.ทราบว่ามีการฝึกอบรมกะทันหัน ไม่ทราบกลุ่มเป้าหมาย
               2.สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่พร้อม (เก่าๆ)
               3.ความพร้อมของผู้ช่วย
วิธีการแก้ปัญหาที่สำเร็จ
               1.ติดต่อเจ้าของโครงการสอบถามเกี่ยวกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
              2.ติดต่อฝ่ายที่รับผิดชอบให้จัดหา สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันมีคุณภาพและเร่งด่วนเพราะต้องนำเครื่องมือมาฝึกเล่นให้ชำนาญ
              3.เตรียมความพร้อมผู้ช่วยโดยฝึกเล่นทุกเกม กิจกรรมให้ชำนาและเตรียมขั้นตอนในการจัดกิจกรรมให้เข้าใจตรงกันจะได้เป็นภูมิต้านทานในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ข้อพึงระวัง
              ควรเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์และต้องทำทุกขั้นตอนทำซ้ำๆป้องกันการผิดพลาด จะได้ดูเป็นวิทยากรมืออาชีพ

การค้นหารูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ Server

ชื่อเรื่อง             การค้นหารูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ Server
ชื่อ สุกล        นายสุรพล  บุญพันธ์
ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา  งานวิชาการ
เรื่องเล่าเข้าประเด็น
           การปฏิบัติงานของทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม  ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทำอย่างไรจึงจะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และครอบคลุมตามความต้องการของผู้ที่จะข้อมูล ทำอย่างไรจึงจะสามารถบริหารจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารได้ตรงตามที่ต้องการ ทั้งข้อมูลที่เป็นลักษณะของไฟล์งาน ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลวีดิโอ ข้อมูลเสียง และอื่นๆ ที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด  รวมถึงโปรแกรมที่เป็น Application ต่างๆ เข้าไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ให้เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดการกับข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน สามารถเข้าไปใช้งานร่วมกันได้  เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และมีความเป็นปัจจุบัน  คือการแชร์ข้อมูล (Data Sharing) ซึ่งกันและตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์กรมากขึ้น  ในที่นี้จะขอเล่าเพียงประเด็นการค้นหารูปภาพที่ถูกจัดเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) เท่านั้น

ปัญหาที่พบ
          1. บุคลากรในองค์กรบางส่วนยังไม่เข้าใจ และไม่สามารถค้นหารูปภาพที่ถูกจัดเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ได้เจอและใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
          2. การสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) มีความยากลำบากบ้าง เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และหลากหลายชนิดไฟล์

วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
          ต้องทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร เรื่องของ คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) เมื่อมีการประชุม หรือเมื่อมีการจัดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ดังนี้

          1. ให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บและสำรองข้อมูลที่เป็นสากล เช่น ในระบบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันเป็นลักษณะขององค์กร ซึ่งควรที่จะมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดเก็บและสำรองข้อมูล ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) การจัดระบบเป็นตามผัง          กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบเครือข่าย (LAN) รวมทั้งคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ด้วยเช่นกัน


         2. ในองค์กรศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา เช่นกัน งานวิชาการ ได้จัดระบบคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  ไว้ให้บุคลากรได้ใช้ประโยชน์ในการจัดเก็บและใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลตามขั้นตอน  ดังนี้



1. ในหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว จะมีรูปสัญลักษณ์ My Network Places  ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ Icon นี้



















2. ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon View workgroup computers เพื่อเข้าถึงเครือข่าย








3. ท่านจะพบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ทั้งหมดทุกเครื่อง รวมถึงคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ที่ชื่อ Server ด้วย ซึ่งถ้าต้องการใช้งาน ให้ทำการดับเบิ้ลคลิก 







4. ภายใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  ท่านจะพบกับ Folder ต่างๆ  แต่สำหรับ Folder ที่ใช้จัดเก็บและสำรองข้อมูลของศูนย์ฯ ได้เก็บไว้ใน Folder ชื่อ E ตามภาพให้ทำการดับเบิ้ลคลิก





5. จะพบกับ Folder สำหรับเก็บไฟล์รูปภาพ ชื่อเป็นภาษาไทย ชื่อ 4.รูปภาพ  ให้ท่านดับเบิ้ลคลิกเพื่อทำการเปิด Folder




    
          ใน Folder ที่จัดเก็บเฉพาะไฟล์รูปภาพทั้งหมด ซึ่งมีหลากหลายมาก ทุกเรื่องที่ผ่านการจัดเก็บด้วยกล้องดิจิตอล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ท่านสามารถดับเบิลคลิกเข้าภายใน Folder แล้วจะเห็นไฟล์รูปภาพมากมาย  เช่น







การตั้งชื่อ Folder  ตั้งตามหลักสากลของ

การใช้ Server ร่วมกัน  เช่น 580423  ซึ่งหมายถึง รูปภาพใน Folder นี้ ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ. 2558 (58) เดือน 04 (เมษายน)  23 วันที่ 23



580331

ปี(2หลักแรก)  เดือน
(2หลักกลาง)  วันที่
(2หลักสุดท้าย) 
และชื่อกิจกรรม









6. ต้องการใช้ไฟล์ใดให้คลิกขวาที่ไฟล์นั้น หรือเลือกครั้งหลายๆไฟล์ก็ได้เช่นกัน โดยการเลือกครั้งละหลายๆไฟล์แล้วคลิกขวา ควรใช้คำสั่งคัดลอก หรือ Copy เท่านั้นเพื่อนำไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน แล้วใช้คำสั่ง วาง หรือ Plate  ท่านจะได้ไฟล์ข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  มาใช้งานทันที
       ในขณะเดียวกัน ท่านสามารถนำไฟล์ข้อมูลของท่านเข้ามาเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  ได้เช่นกัน โดยการทำลักษณะย้อนศรจากการนำข้อมูลมาใช้ 


ข้อพึงระวัง
          1.  การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  เป็นการรักษาและแชร์ข้อมูลกันและกันภายในองค์กร การที่จะนำข้อมูลใดๆ ไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)  นั้นหมายถึงบุคคลในองค์กรทุกคนสามารถเห็น และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ทั้งหมด ฉะนั้นผู้ที่จะนำข้อมูลต่างๆ เข้าไปเก็บไว้ ควรเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นความลับ และเหมาะสมต่อองค์กร เท่านั้น
          2.  การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ต้องใช้คำสั่งคัดลอก (Copy) เท่านั้น ห้ามใช้คำสั่งตัด (Cut) หรือใช้วิธีลากไอคอน เด็ดขาด เพราะจะทำให้ไฟล์ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) จะหายไปทันที ทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วม
    

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การยืมเงินราชการ


เค้าโครงการเขียน “การจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน”
ชื่อเรื่อง              การยืมเงินราชการ
ชื่อ- สกุล              นางสาวปริยาภรณ์  กิ่งโพธิ์
ตำแหน่ง               เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน
สังกัด                     ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
................................................................................
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการ วิธีการ  ขั้นตอนการยืมเงินราชการ และทราบถึงขั้นตอน และวิธีการยืมเงินราชการได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจกระบวนการของการยืมเงินราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหน่วยงาน
2.             เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี มีความรู้ ความเข้าใจ ทราบถึงขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติ
ในการยืมเงินราชการ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ปัญหาที่พบ
1.             ได้รับเอกสารแนบการยืมเงินราชการล่าช้า เช่น สำเนาโครงการฯ, ขออนุมัติดำเนินการ
ทำให้การดำเนินการเบิกจ่าย/การยืมราชการ นั้นต้องเร่งรีบและบางครั้งอาจส่งผลให้ยืมเงินราชการไม่ทัน
เนื่องจากใกล้วันที่จะดำเนินการแล้วและไม่ทราบวันดำเนินการเตรียมหลักฐานต่อไป
2.             ผู้ดำเนินการโครงการไม่ทราบขั้นตอนในการดำเนินการยืมเงินและเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้
ในการยืมเงินราชการ
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
   กำจัดจุดอ่อนให้หมดสิ้นไปด้วยการให้แต่ละคนรู้ว่าการยืมเงินราชการนั้นต้องใช้หลักฐานประกอบอะไรบ้าง
สาระสำคัญ
1. ผู้มีสิทธิยืมจะต้องไม่มีการติดค้างสัญญาเงินยืมฉบับ เก่า
2. ขอยืมได้เพียงประเภทเดียว ไม่ว่าจะเป็นเงินงบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณ
3. เงินยืมที่จำเป็นต้องจ่ายติดต่อคาบเกี่ยวไปถึงปีงบประมาณใหม่ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ไปราชการ ให้ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่  สำหรับปฏิบัติราชการอื่นๆ ให้ใช้จ่ายได้
ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ (เงินยืมราชการเพื่อใช้ในโครงการฯ)
การส่งใช้ใบสำคัญคู่จ่าย (หักล้างเงินยืม) และเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี)
1. การเดินทางไปราชการให้ส่งใช้ภายใน 15 วันนับจากวันที่กลับมาถึง
2. การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการอื่นๆ (ประชุม อบรม สัมมนา) ส่งใช้ภายใน 30 วันนับจากวันได้รับเงิน

ประเภทการยืมเงินราชการ
1. กรณียืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการอื่นๆ
2. กรณียืมเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ
                   (ให้ตรวจสอบงบประมาณว่าได้รับจัดสรรเงินแล้วหรือไม่)
เอกสารประกอบการยืมเงินราชการ กรณีต่างๆดังนี้
กรณียืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการ (ผู้เดินทางต้องเป็นผู้ยืมเท่านั้น)
1. การยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ)
    1.1 ผู้ยืมจัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติยืมเงิน  
    1.2 จัดทำสัญญาการยืมเงินจำนวน 2 ฉบับ ผู้ยืมลงลายมือชื่อ และวันที่ที่ยืมเงินให้เรียบร้อย 
    1.3 บันทึกข้อความขออนุญาตตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ พร้อมแนบประมาณค่าใช้จ่ายในการเงินยืมราชการ
    1.4 เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงลายมือชื่อ
2. การยืมเงินไปประชุม /อบรม /สัมมนา /ดูงาน ภายในประเทศ (หน่วยงานเป็นผู้จัด)
    3.1 ผู้ยืมจัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติยืมเงิน
    3.2 จัดทำสัญญาการยืมเงินจำนวน 2 ฉบับ  ผู้ยืมลงลายมือชื่อ  และวันที่ที่ยืมเงินให้เรียบร้อย พร้อมแนบสำเนาโครงการฯ  สำเนาขออนุมัติดำเนินการ  ตารางการฝึกอบรม/กำหนดการ  (รับรองสำนาถูกต้องทุกฉบับ)
ใบมอบฉันทะ  และใบสำคัญรับเงิน
    3.3 จัดทำประมาณค่าใช้จ่ายการยืมเงินราชการ  (เพื่อจะได้ทราบว่ายืมเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง)
    3.4 บันทึกขออนุญาตเดินทางไปจัดและเข้ารับการประชุม/อบรม/สัมมนา
    3.5 เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงลายมือชื่อ    
    3.6 สำเนาหนังสือเชิญวิทยากร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
    3.7 หนังสือเชิญแขกผู้มีเกียรติ ผู้สังเกตการณ์ (ถ้ามี) กรณีต้องเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย
    3.8 กำหนดการฝึกอบรมในแต่ละวันที่จัดฝึกอบรม (เพื่อคำนวณค่าสมนาคุณวิทยากรโดยแต่ละชั่วโมง
การฝึกอบรมต้องมีกำหนดเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 50 นาที กรณีที่ไม่ถึง 50 นาทีแต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที
ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้กึ่งหนึ่ง)
    3.9 ถ้ามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อการจ้างต่างๆ เช่น  ค่าวัสดุ ค่าจ้างต่าง ๆ และอื่นๆ ให้รีบแจ้งไปที่งานพัสดุเพื่อที่จะได้ทำเอกสารการจัดชื้อจัดจ้างได้ทันเวลา ซึ่งยอดเงินตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไปต้องจ่ายตรงผ่านระบบ GFMIS เข้าบัญชีผู้ขาย
    3.10 ในการจัดอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่พัก  ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามหนังสือที่ กค (กวพ) 0421.3/ว193 ลงวันที่     8 มิถุนายน  2552
กรณีส่งใช้หลักฐานเงินยืม

1. กรณีเดินทางไปราชการในประเทศ
    1.1 จัดทำบันทึกข้อความส่งหลักฐานใช้คืนเงินยืม
    1.2 สรุปรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    1.3 แบบรายงานการเดินทางไปราชการ (ตามแบบฟอร์ม) ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (กรณีเดินทางคนเดียวให้ใช้
         ส่วนที่ 1 อย่างเดียว ถ้าเดินทางเป็นหมู่คณะให้ใช้ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)
    1.4 บันทึกข้อความอนุมัติให้เดินทางไปราชการ (ต้นฉบับ)     
    1.5 การจ่ายเงินที่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินได้ให้ผู้จ่ายเงินใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน แบบ บก.111
    1.6 บันทึกข้อความขออนุมัติยืมเงิน (กรณียืมเงิน)
    1.7 สัญญายืมเงิน 2 ฉบับ (กรณียืมเงิน)
    1.8 ใบเสร็จรับเงินต้องมีรายละเอียดตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
- ชื่อ ที่อยู่หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
- วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
- รายงานแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
- จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร
- ลายมือชื่อของผู้รับเงิน
    1.9 ใบเสร็จรับเงินค่าที่พัก
- ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
- ชื่อส่วนราชการผู้จ่ายเงิน
- วันที่ เดือน ปี ที่รับเงิน
- รายละเอียดที่พัก (จำนวนห้องพักคู่หรือเดี่ยว ราคาห้องละเท่าไร)
- จำนวนเงินตัวเลขและตัวอักษร
- ลายมือชื่อผู้รับเงิน
    1.10 ใบแจ้งรายการโรงแรม (FOLIO)
- ชื่อโรงแรมและสถานที่ตั้ง ซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
- ชื่อและนามสกุลผู้เช่าห้องพัก
- จำนวนผู้ที่เช่าพัก
- อัตราค่าเช่าห้องพัก
- รายละเอียดของรายการค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เช่าห้องพักใช้บริการ
- วัน เดือน ปี และเวลาที่เช่าพักและยกเลิกการเช่าพัก
    1.11 การเช่าที่พักในอัตราห้องพักคู่ ที่ผู้เดินทางใช้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่างสังกัดกันแต่ต้องใช้
           ใบเสร็จรับเงินและใบแจ้งรายการของโรงแรมชุดเดียวกัน ให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้ผู้ใช้สิทธิฝ่ายหนึ่งใช้ต้นฉบับ อีกฝ่ายหนึ่งใช้สำเนาภาพถ่ายที่ผู้ใช้สิทธิรับรองสำเนาถูกต้อง
- การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตามหลักฐานที่ปรากฏในใบแจ้งรายการของโรงแรมให้มีบันทึก
แนบท้ายใบแจ้งรายการของโรงแรมระบุว่ารายการใดที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเป็นผู้เบิก ฝ่ายเดียวและรายการใดทั้งคู่จะเป็นผู้เบิกฝ่ายละเป็นจำนวนเท่าไร ทั้งต้นฉบับสำเนาภาพถ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ใช้สิทธิทั้งคู่ในแต่ละฉบับ
    1.12  ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องใช้ใบตรวจรับน้ำมันจากทางพัสดุโดยอ้างเลขที่ใบเสร็จค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
            เอกสารที่เกี่ยวข้องในการขออนุมัติค่าน้ำมันเชื้อเพลิงใบเสร็จค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (ผู้ขาย)
- ชื่อส่วนราชการ (ผู้ซื้อ)
- วันที่ เดือน ปี ที่รับเงิน
- รายการค่าน้ำมัน
- จำนวนเงินตัวเลขและตัวอักษร
- ลายมือชื่อผู้รับเงิน
- หมายเลขทะเบียนรถ  
    1.14 สำเนาบันทึกข้อความขออนุมัติยืมเงิน
    1.15 ใบเสร็จรับเงินค่าทางด่วน/ใบรับเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง
- ต้องเป็นวัน เดือน ปี พ.. เดียวกับวันที่ขอรถเดินทางไป
- ทางด่วนที่ใช้ต้องเป็นทางเดียวกันกับสถานที่ขอรถ
     1.16 อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น บันทึกข้อความอนุมัติให้เดินทางไปราชการ
     1.17 เสนอผู้มีอำนาจ

2. กรณียืมเพื่อใช้จ่ายในโครงการต่างๆ
1. ผู้ยืมเงินราชการ จัดทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุมัติดำเนินการ พร้อมเอกสารหลักฐานแนบ
    (รายละเอียดตามเอกสารประกอบตามประเภทการยืมเงินราชการ ดังนี้)
                - สัญญายืมเงินราชการ จำนวน 2 ฉบับ
                - บันทึกขออนุมัติดำเนินการและสำเนาโครงการ จำนวน 2  ฉบับ
                - ประมาณการยืมเงินราชการจำนวน  2 ฉบับ
                - ตารางฝึกอบรม/กำหนดการ  จำนวน  2  ฉบับ
                - ใบมอบฉันทะ (กรณียืมเงิน 2 คน)  จำนวน 1  ฉบับ
                - ใบสำคัญรับเงิน  จำนวน  1 ฉบับ
ขั้นตอนการดำเนินการยืมเงินราชการ
ขั้นตอนการยืมเงินราชการ
1. เมื่อได้รับเอกสารการยืมราชการ  (รายละเอียดเอกสารการยืมเงินราชการ ดังนี้)
                - สัญญายืมเงินราชการ จำนวน 2 ฉบับ
                - บันทึกขออนุมัติดำเนินการและสำเนาโครงการ จำนวน 2  ฉบับ
                - ประมาณการยืมเงินราชการจำนวน  2 ฉบับ
                - ตารางฝึกอบรม/กำหนดการ  จำนวน  2  ฉบับ
                - ใบมอบฉันทะ (กรณียืมเงิน 2 คน)  จำนวน 1  ฉบับ
                - ใบสำคัญรับเงิน  จำนวน  1 ฉบับ
2. เจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารประกอบการยืมเงินราชการ
3. เจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติเบิกจ่ายต่อไป
4. เจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำใบขอเบิกเงิน (ขบ.02) และตรวจสอบความครบถ้วนของ รหัสงบประมาณ
    รหัสกิจกรรมหลัก  แหล่งของเงิน    จำนวนเงิน  ประเภทรายการขอเบิก
5. ส่งเบิกเงิน/ยืมเงิน ผ่านระบบ GFMIS (ขบ.02)
6.  บันทึกทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงิน  ทะเบียนคุมงบยุทธศาสตร์/งบดำเนินงาน  ทะเบียนคุมลูกหนี้
7. ตรวจสอบการโอนเงินเข้าผ่าน  KTB  ออนไลน์ ธนาคารกรุงไทย
8. เขียนเช็คสั่งจ่ายผู้ยืมเงินราชการ และบันทึกลงในทะเบียนคุมเช็ค
9. เสนอเช็คต่อผู้บังคับบัญชา
10. สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ยืมเงินราชการ
11. หลังจากดำเนินการตามโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งหลักฐานคืนเงินยืมราชการ ภายใน 30 วัน
12. เจ้าหน้าที่การเงินจัดทำใบรับใบสำคัญ ขึ้นมา 2 ฉบับ เพื่อแสดงว่าได้รับเอกสารส่งใช้คืนเงินยืมราชการ
     เรียบร้อยแล้ว (ฉบับที่1 เก็บไว้กับเอกสารส่งใช้คืนเงินยืม ฉบับที่ 2 ให้กับผู้ยืมเงินราชการ)
11. เจ้าหน้าที่การเงินตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วนของเอกสาร
12. เจ้าหน้าที่การเงินจัดทำ (บช.01) ล้างลูกหนี้เงินยืม และบันทึกในทะเบียนลูกหนี้เงินยืม
13. เจ้าหน้าที่การเงินจัดเก็บเอกสารเพื่อรับการตรวจสอบต่อไป