ชื่อ – สุกล นายทวีศักดิ์ ช่วยเกิด
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา สถาบันการพัฒนาชุมชน
เรื่องเล่าเข้าประเด็น (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)
“สุนทรียสนทนา” ที่นำมาเสนอนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นการสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ
“สุนทรียสนทนา”
(dialogue) ปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการ
หรือทุกๆหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ
บริษัท / ภาคเอกชน / สถาบันการศึกษา อื่นๆ
หลายคนอาจหลงลืมไปว่า
“สุนทรียสนทนา” เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว
และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆ
ในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลและระดับองค์การได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ปัญหาที่พบ
1.
ปัจจุบันคนไทยมุ่งแสวงหาวัตถุ (เงิน) โดยเชื่อว่า “เงิน” เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง
กับครอบครัว ได้ทุกเรื่อง
2.
ปัจจุบันคนไทยมุ่งตามกระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือสารสนเทศที่พัฒนามากับสมาร์ทโฟร์น
มากกว่าการพบปะพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว หรือวงสนทนาแบบญาติพี่น้องในอดีต ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับองค์การ
3. ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งพัฒนาไปสู่ความเจริญกับด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี
เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับประชาชนในประเทศ
แต่ต้องแลกกับการล่มสลายของความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ วัฒนธรรม-ประเพณี
ภูมิปัญญาวิถีพุทธในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยปราศจากทางสายกลางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
คนไทยต้องหันกลับมาทบทวนวิถีชีวิต
ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงวัฒนธรรม-ประเพณี และภูมิปัญญาตามวิถีพุทธในอดีต โดยใช้เวที “สุนทรียสนทนา”
พูดคุยกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่
และก้าวผ่านจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตและการอยู่รวมกันอย่างมีความสุข
ทั้งในระดับครอบครัว และระดับองค์การ ต่อไป
ผู้นำ
ผู้บริหารประเทศ จักต้องไม่นำพาประเทศ และประชาชน เดินเข้าสู่ความหายนะในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
จากการพัฒนาประเทศตามกระแสโลกาภิวัตน์
โดยขาดการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติ
ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
ข้อพึงระวัง
ในการเป็นวิทยากรจัดเวที “สุนทรียสนทนา” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมเวทีนี้นั้นวิทยากรผู้ถ่ายทอดประสบการณ์การจัดเวที
“สุนทรียสนทนา” จะต้องสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ความหมาย/หลักปฏิบัติที่ดี/การนำความรู้ที่ได้
ไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประวันอย่างชาญฉลาด ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น