ชื่อเรื่อง การค้นหารูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์
Server
ชื่อ – สุกล นายสุรพล บุญพันธ์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
งานวิชาการ
การปฏิบัติงานของทุกๆ
องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม
ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำอย่างไรจึงจะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง
รวดเร็ว และครอบคลุมตามความต้องการของผู้ที่จะข้อมูล
ทำอย่างไรจึงจะสามารถบริหารจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารได้ตรงตามที่ต้องการ
ทั้งข้อมูลที่เป็นลักษณะของไฟล์งาน ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลวีดิโอ ข้อมูลเสียง
และอื่นๆ ที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
รวมถึงโปรแกรมที่เป็น Application ต่างๆ
เข้าไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ให้เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดการกับข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้
เพื่อให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน สามารถเข้าไปใช้งานร่วมกันได้ เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และมีความเป็นปัจจุบัน คือการแชร์ข้อมูล (Data Sharing) ซึ่งกันและตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์กรมากขึ้น ในที่นี้จะขอเล่าเพียงประเด็นการค้นหารูปภาพที่ถูกจัดเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) เท่านั้น
ปัญหาที่พบ
1. บุคลากรในองค์กรบางส่วนยังไม่เข้าใจ และไม่สามารถค้นหารูปภาพที่ถูกจัดเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ได้เจอและใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
2.
การสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)
มีความยากลำบากบ้าง เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และหลากหลายชนิดไฟล์
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
ต้องทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร
เรื่องของ คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) เมื่อมีการประชุม
หรือเมื่อมีการจัดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ดังนี้
1.
ให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บและสำรองข้อมูลที่เป็นสากล เช่น
ในระบบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันเป็นลักษณะขององค์กร
ซึ่งควรที่จะมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดเก็บและสำรองข้อมูล ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) การจัดระบบเป็นตามผัง กล่าวคือ
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบเครือข่าย (LAN) รวมทั้งคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ด้วยเช่นกัน
2. ในองค์กรศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
เช่นกัน งานวิชาการ ได้จัดระบบคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
(Computer
Server)
ไว้ให้บุคลากรได้ใช้ประโยชน์ในการจัดเก็บและใช้ข้อมูลร่วมกัน
โดยมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลตามขั้นตอน
ดังนี้
1.
ในหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว จะมีรูปสัญลักษณ์ My
Network Places ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ Icon นี้
2. ดับเบิ้ลคลิกที่
Icon View workgroup computers เพื่อเข้าถึงเครือข่าย
3. ท่านจะพบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ทั้งหมดทุกเครื่อง
รวมถึงคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) ที่ชื่อ Server
ด้วย ซึ่งถ้าต้องการใช้งาน ให้ทำการดับเบิ้ลคลิก
4. ภายใน คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server)
ท่านจะพบกับ Folder ต่างๆ แต่สำหรับ Folder
ที่ใช้จัดเก็บและสำรองข้อมูลของศูนย์ฯ ได้เก็บไว้ใน Folder ชื่อ
E ตามภาพให้ทำการดับเบิ้ลคลิก
5. จะพบกับ Folder สำหรับเก็บไฟล์รูปภาพ
ชื่อเป็นภาษาไทย ชื่อ 4.รูปภาพ
ให้ท่านดับเบิ้ลคลิกเพื่อทำการเปิด Folder
ใน Folder ที่จัดเก็บเฉพาะไฟล์รูปภาพทั้งหมด ซึ่งมีหลากหลายมาก ทุกเรื่องที่ผ่านการจัดเก็บด้วยกล้องดิจิตอล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ท่านสามารถดับเบิลคลิกเข้าภายใน Folder แล้วจะเห็นไฟล์รูปภาพมากมาย เช่น
การตั้งชื่อ Folder ตั้งตามหลักสากลของ
การใช้ Server ร่วมกัน
เช่น 580423 ซึ่งหมายถึง รูปภาพใน Folder
นี้ ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ. 2558 (58) เดือน 04
(เมษายน) 23 วันที่ 23
580331
ปี(2หลักแรก) เดือน
(2หลักกลาง) วันที่
(2หลักสุดท้าย)
และชื่อกิจกรรม
ข้อพึงระวัง
1.
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) เป็นการรักษาและแชร์ข้อมูลกันและกันภายในองค์กร
การที่จะนำข้อมูลใดๆ ไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
(Computer Server) นั้นหมายถึงบุคคลในองค์กรทุกคนสามารถเห็น
และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ทั้งหมด ฉะนั้นผู้ที่จะนำข้อมูลต่างๆ เข้าไปเก็บไว้ ควรเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ไม่เป็นความลับ และเหมาะสมต่อองค์กร เท่านั้น
2. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ต้องใช้คำสั่งคัดลอก
(Copy) เท่านั้น ห้ามใช้คำสั่งตัด (Cut)
หรือใช้วิธีลากไอคอน เด็ดขาด
เพราะจะทำให้ไฟล์ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Computer Server) จะหายไปทันที
ทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น