ชื่อ – สกุล นางสาวกนกพร ศักดิ์อลงกรณ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
สังกัด สถาบันการพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน
เส้นทางสายโชคชัย – เดชอุดม
เป็นเส้นทางที่คุ้นเคยมานานหลายปี เนื่องด้วยเป็นคนจังหวัดบุรีรัมย์โดยกำเนิด
เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรืออีกหลายจังหวัดที่ต้องผ่านเส้นทางนี้
ก็จะมองเห็นศูนย์สารภี ต่อมา
ได้ยกฐานะเป็นศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ๑๑
จวบจนปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนเส้นนี้ บริเวณบ้านหนองหัวแรด ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก
จังหวัดนครราชสีมา และด้วยเป็นข้าราชการสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน รู้และเข้าใจว่า
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน มีบทบาทหน้าที่ศึกษาวิจัยงานพัฒนาชุมชน ฝึกอบรม
ให้บริการด้านการฝึกอบรม และ ศูนย์ฯจะเอื้อประโยชน์อะไรบ้างให้กับประชาชน
ก็เกิดคำถามว่าแล้วคนอื่นล่ะจะรู้และเข้าใจอย่างนี้ไหม จะเห็นได้จากเมื่อก่อนเดินทางไป-กลับ
ที่ต้องผ่านเส้นทางนี่ เมื่อผ่านศูนย์ฯ
ก็จะบอกกับผู้ร่วมทางอย่างภาคภูมิใจว่าศูนย์ฯนี้ขึ้นกับกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย เหมือนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเช่นกัน ก็จะได้รับคำถามที่ไม่แตกต่างกันว่า
ไม่เห็นรู้จัก ไม่เคยได้ยิน บ้างว่าศูนย์ฯนี้เขาทำอะไร จึงได้มองย้อนกลับไปว่า
ใช่คนที่จะรู้ว่าศูนย์ฯทำอะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร
ก็มีเพียงคนที่สังกัดกรมการพัฒนาชุมชนและบางส่วนที่มาใช้บริการของศูนย์ฯเท่านั้น
เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ กรมฯมีคำสั่งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
จึงถือเป็นโอกาสหนึ่งที่จะทำให้คนที่ไม่เข้าใจว่าศูนย์ฯทำอะไร
ให้รู้และเข้าใจมากขึ้น จึงได้ประชุมทีมงานและมีมติร่วมกันว่า
ศูนย์ฯควรจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งานที่ดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ และหลักสูตรที่เปิดบริการให้กับผู้ที่สนใจ ได้แก่
๑. ป้ายวิสัยทัศน์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา จำนวน ๑ ป้าย๒.ป้ายแสดงหลักสูตรการฝึกอบรม ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา จำนวน ๑ ป้าย
๓. ป้ายชื่อหลักสูตรที่ศูนย์ฯเปิดให้บริการฝึกอบรม จำนวน ๕ ป้าย
-หลักสูตรการจัดทำแผนชุมชนแบบบูรณาการ
-หลักสูตรผู้นำการพัฒนา
- หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลง
-หลักสูตรวิทยากรสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
-หลักสูตรพัฒนาเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ต่อมาในเดือนมกราคม ๒๕๕๘
ศูนย์ฯได้ดำเนินการจัดทำและติดตั้งป้ายดังกล่าวที่บริเวณเหนือรั้วหน้าศูนย์ฯ หลังจากนั้น ประมาณปลายเดือนมกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ศูนย์ฯได้รับการประสานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอรับบริการ
๑. ฝึกอบรมการจัดทำแผนชุมชน
๑) เทศบาลเมืองสีคิ้ว ๒) อบต.สารภี ๓) อบต.หนองบุญมาก
๒. การพัฒนาองค์กรชุมชน
– เทศบาลนครราชสีมา
๓. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรี
– อบต.ไทยเจริญ
๔. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
– อบต.หนองไม้ไผ่
ศูนย์ฯ
ได้รับการเสนอแนะจากผู้นำ ภาคี
ผู้มารับบริการที่ศูนย์ฯ/นอกศูนย์ฯและผู้สัญจรไปมาว่า
ป้ายที่ติดตั้งนั้น ติดถี่เกินไป
ควรติดตั้งให้ห่างพอสมควรที่ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถมองเห็นและอ่านได้ครบถ้วนทุกป้าย
จึงได้นำเข้าที่ประชุมของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯให้พึงระวังในการดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้
ส่วนป้ายดังกล่าวที่เสนอแนะมาก็จะดำเนินการแก้ไขต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์และพึงพอใจทั้ง
๒ ฝ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น