ชื่อ – สุกล นายวิเชียร เบ้าหนองบัว
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
สถาบันการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เรื่องเล่าเข้าประเด็น
ในการทำงานภาครัฐในปัจจุบัน
ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้น ทุกหน่วยงานจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์
พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ที่ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรในองค์กร
ได้ทราบเพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งในการจะกำหนดวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ ด้านต่าง ๆ จะต้องมาจากการนำข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
มาวิเคราะห์ (SWOT Analysis)
ปัญหาที่พบ
๑.
มักมีข้อถกเถียงหาข้อสรุปว่าอะไรคือปัจจัยภายใน
หรือปัจจัยภานอก
๒. การกำหนดข้อมูลในการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายใน
หรือ ปัจจัยภายนอก มีอะไรบ้าง
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
๑. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (SW : Strengths : จุดแข็ง , Weaknesses : จุดอ่อน) โดยนำแนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์การ
(McKinney
7-S Framework) มาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกัน นั้นคือ
๑.๑ Strategy :
กลยุทธ์ขององค์กร คือ การวิเคราะห์กลยุทธ์องค์กรว่าองค์กรมีกลยุทธ์อะไรบ้าง
ซึ่งจะต้องใช้คำถามที่สำคัญ อาทิ องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้
องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร
และใครเป็นผู้รับบริการของเรา มีกลยุธ์ใดที่เป็นจุดแข็ง/จุดอ่อน
๑.๒
Structure : โครงสร้างองค์การ คือ การวิเคราะห์โครงการสร้างองค์การ
มีความเหมาะสม หรือ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
๑.๓ System
: ระบบการปฏิบัติงาน คือ การวิเคราะห์ระบบการปฏิบัติงาน ต่าง ๆ ในองค์การ
เช่น ระบบการเงิน ระบบสารสนเทศ ระบบการรายงาน ฯ
มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
๑.๔ Staff : บุคลากร คือ การวิเคราะห์ว่าบุคลากร
มีความเหมาะสม กับลักษณะงาน หรือเพียงพอหรือไม่ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
๑.๕ Skill : ทักษะ ความรู้ ความสามารถ คือ การวิเคราะห์
ว่าบุคลากรในหน่วยงาน/องค์การมี ทักษะ
ความรู้ ความสามารถ อะไรบ้างเหมาะสมกับงานขององค์การ หรือ มีจุดแข็ง/จุดอ่อน อะไรบ้าง
๑.๖ Style
: รูปแบบการบริหารจัดการ
คือ การวิเคราะห์
จุดแข็ง/จุดอ่อน ของรูปแบบการบริหารจัดการในหน่วยงาน/องค์การ
๑.๗ Shared values : ค่านิยมร่วม
คือ การวิเคราะห์ จุดแข็ง/จุดอ่อน
เกี่ยวกับค่านิยมในหน่วยงาน/องค์การ
๒. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (OP
: Opportunities : โอกาส , Threats : ปัญหา/อุปสรรค) โดยนำเครื่องการการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกมาใช้
คือ PEST Analysis เป็นโอกาส หรือ
เป็นปัญหา/อุปสรรค ของหน่วยงาน/องค์การ ในเรื่องอะไรบ้าง ประกอบด้วย
๒.๑
P : Politic : ปัจจัยทางนโยบายและการเมือง
๒.๒ E
: Economic : ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
๒.๓ S
: Social : ปัจจัยทางสังคม
๒.๔ T
: Technology: ปัจจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ
ข้อพึงระวัง
ในการนำ McKinney 7-S Framework
มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือ นำ PEST
Analysis มาวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ถือเป็นเพียงเครื่องมือให้เราได้มีกรอบ
หรือประเด็นในการวิเคราะห์ร่วมกัน แต่ถ้าเรื่อง หรือ ประเด็นไหน ไม่มีผลกระทบ ต่อองค์กร
เราก็ไม่จำเป็นต้องนำมาเขียนเป็นผลการวิเคราะห์ ทุกเรื่อง หรือ ประเด็นไหน เช่น ปัจจัยภายใน
(จุดแข็ง / จุดอ่อน) ในเรื่อง Style : รูปแบบการบริหารจัดการ หรือปัจจัยภายนอก (โอกาส /
ปัญหา,อุปสรรค) ในเรื่อง E : Economic : ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ไม่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การ ก็ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ หรือนำมากำหนด เป็น
จุดแข็ง/จุดอ่อน หรือ โอกาส / ปัญหา , อุปสรรคฺ ของหน่วยงานหรือองค์การ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น