ชื่อ
– สกุล สิบตำรวจโทสุริยา บุญเรือง
ตำแหน่ง
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
สังกัด
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
เรื่องเล่าเข้าประเด็น
จากการที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจะก้าวสู่ศูนย์ฝึกอบรมของประชาชน
จึงมีความจำเป็นในการฝึกอบรมโครงการต่างๆ
นั้นย่อมมีการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกอบรมหรือบางครั้งเรียกว่าการละลายพฤติกรรม
หรือการสันทนาการเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำกิจกรรมที่สนุกสนาน
ผ่อนคลายความเครียด ละลายพฤติกรรม ลดความขัดแย้ง เกิดทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจ
เห็นอกเห็นใจ มีความรักความผูกพัน ต่อเพื่อนร่วมกิจกรรม จนกระทั้งเกิดความสามัคคี
มีการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่โครงนั้นๆต้องการ
ในการเตรียมความพร้อมของวิทยากร
นำกิจกรรมสันทนาการ / เกมนั้นต้องคำนึงถึง
1.การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย (จำนวน เพศ อายุ การศึกษา
ประสบการณ์)
2.ขนาดกลุ่ม (แบ่งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มละเท่าใด)
3.รู้สถานที่ / พื้นที่ (เพื่อเลือกเกม กิจกรรมให้เหมาะสม)
4.สื่อ เครื่องมือ (ใช้อะไรบ้างในการดำเนินกิจกรรม)
5.วางแผนการเล่นเกม / กิจกรรม (วัตถุประสงค์ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ)
6.เตรียมอุปกรณ์ (เช่น เกม เอกสาร รางวัล เครื่องมือในการเล่นกิจกรรม)
7.เตรียมผู้ช่วยและเกมสำรอง
(เพื่อสาธิตเกม กิจกรรมต่างๆ เตรียมเกมสำรอง
พร้อมแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันที)
ปัญหาที่พบ
1.ทราบว่ามีการฝึกอบรมกะทันหัน ไม่ทราบกลุ่มเป้าหมาย
2.สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่พร้อม
(เก่าๆ)
3.ความพร้อมของผู้ช่วย
วิธีการแก้ปัญหาที่สำเร็จ
1.ติดต่อเจ้าของโครงการสอบถามเกี่ยวกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
2.ติดต่อฝ่ายที่รับผิดชอบให้จัดหา
สื่อ เครื่องมือ
อุปกรณ์ที่ทันมีคุณภาพและเร่งด่วนเพราะต้องนำเครื่องมือมาฝึกเล่นให้ชำนาญ
3.เตรียมความพร้อมผู้ช่วยโดยฝึกเล่นทุกเกม
กิจกรรมให้ชำนาและเตรียมขั้นตอนในการจัดกิจกรรมให้เข้าใจตรงกันจะได้เป็นภูมิต้านทานในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ข้อพึงระวัง
ควรเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์และต้องทำทุกขั้นตอนทำซ้ำๆป้องกันการผิดพลาด
จะได้ดูเป็นวิทยากรมืออาชีพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น