ชื่อเรื่อง
แบบไหนถึงจะเรียกว่า “วิทยากรในดวงใจ”
ชื่อ – สุกล นางสาวโสภาพร วิศิษฏ์พงศ์
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา
เรื่องเล่าเข้าประเด็น (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)
ในความเป็นจริงแล้ว
ตลอดเวลาที่เราทำงานอยู่นั้น เราได้เป็นวิทยากรอยู่อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายในหลักสูตรต่าง ๆ การออกความคิดเห็นในการประชุมหรือการฝึกอบรมตามโครงการต่าง
ๆ สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่ามีจุดประสงค์เดียวกับการเป็นวิทยากร คือ ให้ความรู้ผู้อื่น
ศิลปะในการเป็นวิทยากร สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจก่อนการเตรียมเนื้อหา หรือการนำเสนอ คือ จุดประสงค์หลักที่จะสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจนั้นคืออะไร ใครคือกลุ่มผู้ฟังที่กำลังจะนำเสนอ เมื่อเข้าใจแล้วต้องดำเนินการ
ดังนี้
การวางแผน
1. ให้วางจุดประสงค์เพียงข้อเดียวที่สำคัญที่สุด
เพราะการมีเพียงประเด็นเดียวในแต่ละครั้งที่นำเสนอ
จะช่วยให้ผู้ฟังสร้างความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วกว่า รวมถึงไม่สับสนว่าวิทยากรต้องการนำเสนออะไรกันแน่
2.
ต้องกำหนดกลุ่มผู้ฟังว่า เป็นใคร มีพื้นฐานความรู้มากน้อยเพียงใด
และมีจำนวนเท่าไร เพื่อจะ
ได้เตรียมข้อมูล
หรือยกตัวอย่างให้เหมาะกับประสบการณ์ของผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในเรื่องที่พูดได้ดี
3.
การร่างหัวข้อที่จะใช้นำเสนอ ควรแจกแจงรายละเอียดเป็นหัวข้อให้ชัดเจน
เนื่องจากการพูดโดยมีโครงสร้างลำดับความคิดที่ดีจะช่วยให้ผู้ฟังติดตามเนื้อหาที่นำเสนอได้ง่าย
และเข้าใจรวดเร็วกว่า
ที่สำคัญแต่ละหัวข้อควรมุ่งประเด็นไปที่การตอบปัญหาหรือสร้างคำถามให้เกิดขึ้นในใจผู้ฟัง
จากนั้นจึงจบท้าย
การนำเสนอด้วยคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
การนำเสนอด้วยคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
การนำเสนอ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำเสนอมี 5
เรื่อง ได้แก่
1.
ผู้ฟัง ควรมั่นใจว่าผู้ฟังพร้อมรับข้อมูลแล้ว
ก่อนที่จะเริ่มบรรยายควรให้ผู้ฟังเตรียมความพร้อมอย่างน้อยครึ่งนาที
2.
เจตนาที่นำเสนอ ควรเริ่มต้นด้วยการให้ผู้ฟังคิดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะนำเสนอ
ให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ที่มี
พร้อมกับการจูงใจพวกเขาถึงเรื่องที่นำเสนอ
เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าอยากมีส่วนร่วมในประสบการณ์ใหม่ที่จะได้รับฟัง
3. ลำดับที่นำเสนอ ควรบอกกล่าวถึงลำดับเนื้อหาต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่า
เขาจะได้รับรู้อะไรบ้าง และยาวนานเท่าไร
4. สร้างความกลมกลืน ควรสร้างความกลมกลืนกับผู้ฟังเสมือนหนึ่งเป็นเพื่อนเป็นพี่ เป็นที่ปรึกษา
เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเลยทีเดียว
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ฟังเป็นสำคัญ
5. พิธีกร ควรทำความเข้าใจกับวิทยากรให้ดีในเนื้อหาที่จะนำเสนอ
รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวด้วย เพื่อให้พิธีกรกล่าวนำวิทยากรขึ้นพูด
สร้างความพร้อมให้ผู้ฟังก่อนวิทยากรจะเริ่มบรรยาย
และกล่าวสรุปสาระสำคัญทั้งหมดได้อย่างงดงาม
เทคนิคเพิ่มความน่าสนใจ
ตลอดช่วงเวลาบรรยาย วิทยากรต้องใส่ใจกับการแสดงออกของผู้ฟัง
เพื่อจับทิศทางและบรรยากาศ และเตรียมพร้อมแก้ไขสถานการณ์อยู่เสมอ
เพื่อสร้างให้ผู้ฟังเกิดความตื่นเต้นและใส่ใจที่จะฟังอยู่ตลอดเวลา
ด้วยการใช้ภาษากาย ได้แก่
การใช้เสียง เสียงที่ผู้บรรยายเปล่งออกไปจะต้องมีพลัง ก้องกังวาน ฟังดูมีอำนาจ
ซึ่งไม่ใช่การตะโกน มีการปรับน้ำเสียงดังและค่อยตามเนื้อหาที่ควรเน้น
การใช้สายตา ตลอดเวลาที่บรรยาย จงสบตาผู้ฟังทุกคน โดยเฉพาะในช่วงที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้ฟังท่านใด
ก็ให้แสดงความใส่ใจผ่านดวงตาไปยังผู้ฟังท่านนั้น ให้เห็นว่าการบรรยายตรงจุดนี้เพื่อเขาโดยเฉพาะ
แต่หากบรรยายในกลุ่มใหญ่ไม่อาจสบตาใครได้
คุณสามารถพบกับผู้ฟังหลังจากการบรรยายและทำแบบเดียวกันนี้ได้เช่นกัน
การแสดงท่าทาง ในระหว่างการบรรยาย หากผู้บรรยายยิ้ม หัวเราะ ผู้ฟังก็จะสดใสและตื่นตาตื่นใจตามท่าทางของผู้บรรยายเอง ดังนั้น การเคลื่อนไหวทุกอย่างหน้าห้องประชุม
จะเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ
ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้บรรยายจงฝึกฝนการยืนนำเสนอ
การนั่งนำเสนอให้บ่อยเท่าที่จำเป็น เพื่อแสดงออกท่าทางได้อย่างเหมาะสมทุกครั้ง
ข้อพึงระวัง
การเป็นวิทยากรที่ผู้ฟังยอมรับนับถือนั้นต้องเป็นผู้ที่
1. มีความรับผิดชอบสูง ตั้งแต่การแต่งตัว
การสร้างบุคลิกภาพ การตรงต่อเวลา และความพร้อม
ในการนำเสนอ
ในการนำเสนอ
2. การเป็นวิทยากรที่ดี
ต้องรู้จักพลิกแพลงและปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์และผู้ฟัง โดยเฉพาะช่วงบ่าย หากเป็นหัวข้อวิชาการหรือการนำเสนอตัวเลขที่มากมายเกินไป
ต้องรู้จักกระตุ้น หยุดให้ผู้เข้าร่วมได้คิดด้วย
ไม่ใช่เดินหน้าบรรยายตามสไลด์อย่างเดียวเพราะกลัวเวลาไม่พอ
3. การตอบคำถามถือเป็นเรื่องสำคัญ
วิทยากรควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าผู้ถามต้องการรู้เกี่ยวกับ
เรื่องอะไรให้แน่ชัด
เพื่อจะได้อธิบายให้ตรงจุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น