ชื่อเรื่อง การจัดธูปเทียนแพรให้ถูกต้องตามหลักพิธีการ
ชื่อ – สุกล นางสาวรุ่งนภา อุปมา
ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
สังกัด
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
เรื่องเล่าเข้าประเด็น (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)
ในฐานะที่เรามีหน้าที่หลักเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน ตลอดถึงประชาชนกลุ่มต่างๆ บางครั้งการจัดโต๊ะหมู่บูชา บนเวทีต่างๆ ก็สร้างความสับสนให้เราอยู่บ้างไม่น้อย เพราะมักจะปรากฏการจัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันไปในสถานที่ ซึ่งการจัดงานมงคลต่างๆ เช่น พิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พิธีมอบเครื่องราช อิสริยาภรณ์ พิธีสมรสพระราชทาน การลาบวช การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานทุนการศึกษา เป็นต้น จะมีการจัดชุดเครื่องสักการะถวายเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ธูปเทียนแพ และกระทงดอกไม้ พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน พานดอกไม้ ทั้งนี้อาจจัดให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบต่างกันไปตามขอบเขตความยิ่งใหญ่ของพิธีการนั้นๆ ได้
ดังนั้น ทางสำนักพระราชวังจึงได้ออกเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช 2522 โดยระบุว่า เครื่องราชสักการะดอกไม้ ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียนจะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป แต่ที่มักจะทำกันผิดๆ คือ จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น
นอกจากนี้ ในการจัดโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรประดับธงชาติไว้ด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์(ยึดพระหัตถ์ขวาเป็นหลัก) ในปีพุทธศักราช 2549 ซึ่งเป็นปีแห่งการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประดับธงตราสัญลักษณ์ของงานฯ ที่ด้านซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ บนโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะ วางพานพุ่มทองไว้บนแท่นบูชาด้านขวา และวางพานพุ่มเงินไว้ที่ด้าน ซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ พานธูปเทียนแพ วางไว้ตรงกลางในระดับต่ำกว่าพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง ส่วนพระนามาภิไธยย่อ ภปร.หรือ สก. ประดับไว้เหนือพระบรมฉายาลักษณ์ตรงกลางเหนือพระเศียรได้ ส่วนตราสัญลักษณ์ จัดวางไว้ในตำแหน่งด้านขวาของภาพในระดับที่ต่ำกว่าพระเศียรเล็ก น้อย สำหรับการลงนามในสมุดถวายพระพรของประชาชนทั่วไปนั้น ให้ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินและเขียนด้วยตัวบรรจง
ในฐานะที่เรามีหน้าที่หลักเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน ตลอดถึงประชาชนกลุ่มต่างๆ บางครั้งการจัดโต๊ะหมู่บูชา บนเวทีต่างๆ ก็สร้างความสับสนให้เราอยู่บ้างไม่น้อย เพราะมักจะปรากฏการจัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันไปในสถานที่ ซึ่งการจัดงานมงคลต่างๆ เช่น พิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พิธีมอบเครื่องราช อิสริยาภรณ์ พิธีสมรสพระราชทาน การลาบวช การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานทุนการศึกษา เป็นต้น จะมีการจัดชุดเครื่องสักการะถวายเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ธูปเทียนแพ และกระทงดอกไม้ พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน พานดอกไม้ ทั้งนี้อาจจัดให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบต่างกันไปตามขอบเขตความยิ่งใหญ่ของพิธีการนั้นๆ ได้
ดังนั้น ทางสำนักพระราชวังจึงได้ออกเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช 2522 โดยระบุว่า เครื่องราชสักการะดอกไม้ ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียนจะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป แต่ที่มักจะทำกันผิดๆ คือ จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น
นอกจากนี้ ในการจัดโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรประดับธงชาติไว้ด้านขวาของพระบรมฉายาลักษณ์(ยึดพระหัตถ์ขวาเป็นหลัก) ในปีพุทธศักราช 2549 ซึ่งเป็นปีแห่งการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประดับธงตราสัญลักษณ์ของงานฯ ที่ด้านซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ บนโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะ วางพานพุ่มทองไว้บนแท่นบูชาด้านขวา และวางพานพุ่มเงินไว้ที่ด้าน ซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์ พานธูปเทียนแพ วางไว้ตรงกลางในระดับต่ำกว่าพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง ส่วนพระนามาภิไธยย่อ ภปร.หรือ สก. ประดับไว้เหนือพระบรมฉายาลักษณ์ตรงกลางเหนือพระเศียรได้ ส่วนตราสัญลักษณ์ จัดวางไว้ในตำแหน่งด้านขวาของภาพในระดับที่ต่ำกว่าพระเศียรเล็ก น้อย สำหรับการลงนามในสมุดถวายพระพรของประชาชนทั่วไปนั้น ให้ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินและเขียนด้วยตัวบรรจง
ปัญหาที่พบ
ในการจัดวางเครื่องสักการะที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการจัดวางสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้จริงของผู้จัด รวมทั้งผู้ดูแลพิธีการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นได้ ในการจัดวางสิ่งของเครื่องสักการะผิดที่ผิดทางนั้น จึงกลับกลายเป็นการสื่อแทนความหมายที่ผิดไป
ในการจัดวางเครื่องสักการะที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการจัดวางสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้จริงของผู้จัด รวมทั้งผู้ดูแลพิธีการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นได้ ในการจัดวางสิ่งของเครื่องสักการะผิดที่ผิดทางนั้น จึงกลับกลายเป็นการสื่อแทนความหมายที่ผิดไป
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบผลสำเร็จ
ต้องทำความเข้าใจ และจดจำให้ได้อย่างแม่นยำในประเด็นหลักๆ เช่น
1. การจัดธูปเทียนแพ และกระทงดอกไม้ พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน เป็นการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เท่านั้น
2. ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียนจะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป
3. จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น
4. บนโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องสักการะ วางพานพุ่มทองไว้บนแท่นบูชาด้านขวา และวางพานพุ่มเงินไว้ที่ด้าน ซ้ายของพระบรมฉายาลักษณ์
5. สำหรับการลงนามในสมุดถวายพระพรของประชาชนทั่วไปนั้น ให้ใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงินและเขียนด้วยตัวบรรจง
ข้อพึงระวัง
การจัดตั้งเครื่องสักการะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการต่างๆที่จัดขึ้นเสมอในบ้านเมืองของเรา
ดังนั้นการได้ทราบถึงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดวางเครื่องสักการะ ย่อมสื่อความหมายที่ดีและเป็นมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ หากกระทำผิดโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม โดยจัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป
ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น
งานมงคล |
งานอวมงคล |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น